วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วัดขัวแคร่ Wat Khua Khrae Muang Chiangrai


พระมหาวิหารหลวงพญาเจ้ามังรายมหาราช
       วัดขัวแคร่ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๒๒ ถนนพหลโยธิน หมู่ที่ บ้านขัวแคร่ ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๘๘ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๘๙๙๖๙ เลขที่ ๙๐๐ หน้าที่ ๖๙ 

                                     อาณาเขต     ทิศเหนือ           จรดหนองน้ำขัวแคร่
ทิศใต้               จรดถนนสาธารณะ
ทิศตะวันออก     จรดถนนพหลโยธิน
ทิศตะวันตก       จรดที่สาธารณะ

        ที่ธรณีสงฆ์ แปลง มีเนื้อที่ ๕๖ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๑๐๑๙๔๙ เลขที่ ๑๐๒ หน้า ๔๙

        วัดขัวแคร่สร้างสมัยใดไม่ปรากฏเด่นชัด 

        โบราณวัตถุ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม .. ๒๕๔๗ (ทิศตะวันตกของวัด) คาดว่ามีอายุราวพุทธศักราช ๑๘ - ๒๓ แต่ปรากฏในหนังสือประวัติวัดทั่วอาณาจักร เล่ม ของกองพุทธศาสนา กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ .. ๒๕๓๒ หน้าที่ ๓๖๐ - ๓๖๑ วัดขัวแคร่สร้างเมื่อ .. ๒๔๓๙ ได้พระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งที่ เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม .. ๒๕๒๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร ครั้งที่ เมื่อวันที่ กันยายน .. ๒๕๕๓ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๘ เมตร

พญามุจลินท์นาคราช



การบริหารการปกครอง (มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบ) ดังนี้
. พระจันทิมา ปูคา .. ๒๔๖๒ - ๒๔๖๖
. พระศรีนวล คำบุญเรือง                        .. ๒๔๖๗ - ๒๔๗๗
. พระผัด แสงดา                                     .. ๒๔๗๗ - ๒๔๘๒
. พระเทพสอน .. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๕
. พระคำปัน สุวรรณโณ .. ๒๔๘๖ - ๒๔๙๐
. พระอินจันทร์ .. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๔
. พระทองใส .. ๒๔๙๔ - ๒๕๐๖
. พระอินปั๋น                                             .. ๒๕๐๖ - ๒๕๑๘
. พระอธิการเล็ก ยโสธโร .. ๒๕๑๘ - ๒๕๒๖
๑๐. พระอธิการผัด ปัญญาทีโป .. ๒๕๒๖ - ๒๕๓๕
๑๑. พระมหาถาวร ยโสธโร (จันต๊ะคำ)         .. ๒๕๓๖ - ปัจจุบัน




ความเดิมตามคำบอกเล่า

         บ้านขัวแคร่ "ขัว หมายถึง สะพาน แคร่ หมายถึง ไม้ไผ่ที่นำมาผ่าเป็นชิ้นเล็ก แล้วนำมาปูเป็นพื้น"

ขัวแคร่ หมายถึง สะพานที่สร้างขึ้นจากไม้ไผ่ซีกเล็ก ปูเป็นพื้นทางเดิน สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ตั้งของชุมชนขนาดใหญ่มาแต่ก่อน บนพื้นที่สันดอนใกล้หนองน้ำและละเหมืองขัวแคร่ ปรากฏมีซากโบราณสถาน ซากอิฐหลายแห่งทั้งที่รกร้างและเกือบไม่มีหลายแห่ง เช่น

. กู่คำ (บริเวณโรงเรียนบ้านขัวแคร่ติดลำเหมืองขัวแคร่) ถูกรื้อหมดแล้ว เหลือเพียงเศษอิฐเล็ก น้อย

. กู่แดง (บริเวณทิศตะวันออกของบ้านขัวแคร่ หมู่ ใกล้หนองบัวคำ) ยังเหลือซากอิฐและเนินดินของพระธาตุอยู่

. ทุ่งกู่ (บริเวณทิศใต้บ้านขัวแคร่ หมู่ ๑๗ ติดลำเหมืองขัวแคร่) ถูกรื้อทิ้งหมดแล้ว

. กู่สันกอไฮ (บริเวณทิศใต้บ้านเหล่าพัฒนา หมู่ ๑๔ ติดลำเหมืองขัวแคร่) ถูกรื้อขุดเหลือซากอิฐให้เห็นอยู่เล็ก น้อย

. กู่ขาว (บริเวณหลังวัดขัวแคร่ ติดลำเหมืองขัวแคร่) เหลือซากอิฐให้เห็นอยู่

. ลำเหมืองขัวแคร่ เป็นสายน้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชน แต่กาลก่อนจนถึงปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด ๔๑ ไร่ งาน

. หนองบัวคำ (บริเวณทิศตะวันออกบ้านขัวแคร่ หมู่ ) เป็นหนองน้ำขนาดใหญ่มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๒ ไร่





เทวดารักษาพระมหาวิหารหลวงพญาเจ้ามังรายมหาราช

    บ้านขัวแคร่เป็นสถานที่สมบูรณ์

                ทิศตะวันตก เป็นภูเขา
                ทิศตะวันออก เป็นที่ราบลุ่ม "อู่ข้าว อู่น้ำ"
                ทิศเหนือ - ใต้ เป็นที่ราบลุ่ม "อู่ข้าว อู่น้ำ"

    ดังนั้นจึงเป็นที่กลุ่มชนต่าง อพยพมาตั้งถิ่นฐานทั่วบริเวณ อาทิเช่น จากสิบสองปันนา เชียงรุ้ง เชียงตุง มาพักตั้งถิ่นฐานแต่กาลก่อน โดยมีพระนางเจ้าเทพคำขยาย พระราชมารดาของ พ่อขุนมังรายมหาราช พร้อมด้วยบริวารผู้คน ได้มาพักบริเวณนี้และกาลเวลาได้เปลี่ยนไปก็เสื่อมสูญตามสภาวธรรมตามวันเวลา

     จนมาถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ กลุ่มชนจากสิบสองปันนา เชียงรุ้ง เชียงตุง ได้มาตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือนเพื่อพักสินค้า และค้าขายสินค้ากับตัวเมืองเชียงราย

     ต่อมามีกลุ่มชนจากเชียงใหม่ .สันกำแพง บ้านสันต้นเปา, บ่อสร้าง, หนองโค้ง, ป่าเส้า .ดอยสะเก็ด, บ้านสันต้นม่วงใต้ เป็นต้น ได้มาบุกเบิกไรนาสร้างเรือน อันเป็นกลุ่มชนที่มีมากที่สุดในหมู่บ้านปัจจุบัน

          ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ บ้านขัวแคร่ได้ใช้เป็นคลังเสบียง คลังน้ำมัน และบริเวณวัดได้เป็นค่ายที่พักของเหล่าทหารไทย โดยการนำของจอมพลผิน ชุณหะวัณ โดยกองทัพได้นำก้อนหินผามาถมบริเวณวัด และถนนในหมู่บ้านทิศตะวันตก เป็นระยะทางประมาณ ,๓๐๐ เมตร ปัจจุบันได้เทคอนกรีตทับหมดแล้ว ไม่ปรากฎให้เห็น หลังสงครามโลกครั้งที่ ยุติลง กลุ่มชนจากจังหวัดพะเยาก็ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน บุกเบิกทำไร่ ทำนา สร้างบ้าน สร้างเรือนสมทบอีกกลุ่มหนึ่ง

ดังนั้นบ้านขัวแคร่มีกลุ่มชนหลายหมู่ คือ
. คนสิบสองปันนา เชียงรุ้ง (คนลื้อ)
. คนเชียงตุง                                         (คนไทยใหญ่)
. คนเมืองยอง                                       (คนยอง)
. คนเชียงใหม่ - พะเยา - เชียงราย         (คนเมือง

ต่อมามีประชาชนเพิ่มขึ้นเรื่อย จึงแยกการปกครองเป็น หมู่บ้าน คือ
. บ้านขัวแคร่ หมู่ที่     ตำบลบ้านดู่
. บ้านเหล่าพัฒนา หมู่ที่ ๑๔   ตำบลบ้านดู่
. บ้านขัวแคร่ หมู่ที่ ๑๗  ตำบลบ้านดู่